รากเทียมแอสตราเทค (Astra Tech ) : รากเทียมแอสตราเทคพัฒนาตามหลักชีวเคมีและชีวกลศาสตร์
รากเทียมชนิดนี้ถูกกออกแบบขึ้นมาโดยการผสมผสานระหว่างหลักการการรักษา และหลักเกณฑ์ความสวยงามตามธรรมชาติ รากเทียมที่ดีจะต้องไม่ขัดขวางกระบวนการหายของแผลตามธรรมชาติ แต่จะช่วยให้การหายของแผลเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น
Connective Contour™
ความสามารถในการจัดการกับความซับซ้อนทางชีววิทยาของรากเทียมชนิดนี้ ทำให้รากเทียมชนิดนี้มีความน่าเชื่อถือสูง ให้ทั้งความแข็งแรง และสวยงามทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
คุณสมบัติเฉพาะที่ทำให้รากทียมชนิดนี้มีความแตกต่างได้แก่การที่เนื้อเยื่ออ่อน สามารถยึดได้แน่นในระดับของฐานรองครอบฟันบนรากเทียม (Abutment level)
และการที่กระดูกกับสามารถยึดได้แน่นโดยเฉพาะในส่วนของคอรากเทียม ส่งผลให้รากเทียมสามารถถ่ายเทแรงได้อย่างดีเยี่ยม ปราศจากการเคลื่อนที่ (Micro-movement)
และช่องว่างที่เกิดจากรอยต่อ (Micro-leakages)แม้ในระดับจุลภาค ทำให้สามารถรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของเนื้อเยื่ออ่อนและสันกระดูกรอบรากเทียมได้นาน
เมื่อพูดถึงการรักษาโดยใช้รากเทียม การสร้างให้เกิดโครงสร้างและองค์ประกอบของเนื้อเยื่ออ่อนรอบรากเทียมที่ดี ร่วมกับการพยายามรักษาสันกระดูกรอบรากเทียม เป็นหลักที่จำเป็นในการทำให้เกิดความสวยงามในระยะยาว
ภายใต้สภาวะที่ถูกต้องใกล้เคียงธรรมชาติ ธรรมชาติจะดำเนินไปตามกลไกลของมันเอง รากเทียมชนิดนี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้รากเทียมเลียนแบบสภาพของธรรมชาติมากที่สุด แล้วเนื้อเยื่ออ่อนและสันกระดุกรอบรากเทียมก็จะมีความสมบูรณ์แข็งแรง ถูกกรักษาไว้อยู่ได้ด้วยกลไกลทางธรรมชาติเอง
การพึ่งพาอาศัย(Necessary symbiosis)
การคงสภาพสันกระดูกขากรรไกร มีความสำคัญทั้งในด้านของการใช้งาน และความสวยงามของรากเทียม การร่นของสันกระดูกรอบรากเทียมโดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับได้
เนื่องจากถือว่าเป็นผลตามที่อาจเกิดจากการฝังรากเทียม รากเทียมบางชนิดถึงกับอ้างว่า การที่สันกระดูกละลายตัวไปบ้างกลับเป็นข้อดี เพื่อคงระยะ Biologic แต่สำหรับแอสตราเทคเราไม่เคยยอมรับสมมติฐานนี้
|
|
การคงความสูงของสันกระดูกรอบรากเทียมและการสร้างให้เกิด Biologic width ในระดับฐานรองครอบฟันนั้น เป็นการสร้างให้เกิดสภาวะเสมอเหมือนธรรมชาติ หากสันกระดูกมีความสูงพอก็จะส่งผลถึงความสมบูรณ์ของเหงือก
เช่นเดียวกับสำนวนที่ว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ เช่นกัน ทั้งกระดูกและเหงือกต่างก็ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องสร้างให้เกิดอะไรก่อนอะไร
เพราะเหงือกและเนื้อเยื่ออ่อนรอบรากเทียมที่แข็งแรง ก็ต้องอาศัยการรองรับของกระดูกข้างใต้ และกระดูกเองก็ต้องการการป้องกันจากเหงือก
การมองภาพรวม
การจะออกแบบรากเทียมให้ได้ดีและประสบความสำเร็จนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการความรู้ด้านชีววิทยา และกลศาสตร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยความเข้าใจ
เมื่อการทำงานร่วมกันของกลไกลทั้ง 2 อย่าง การแก้ปัญหาโดยมองจากภาพรวมจึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้สามารถออกแบบรากเทียมชนิดนี้ได้อย่างอย่างแตกต่าง
|
|
รากเทียมออสสิโอสปีด ออกแบบด้วยความใส่ใจในรายละเอียดของผิวรากเทียมแม้ในระดับนาโนกายวิภาค ซึ่งเป็นอีกระดับของการพัฒนาผิวรากเทียมร่วมกับเทคโนโลยีทางด้านเคมี
เพื่อให้ได้คุณวสมบัติใกล้เคียงะรรมชาติที่สุด เพราะอย่างที่ทราบดีว่าในธรรมชาติแล้วความสำเร็จในการยึดอยู่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียว