การใช้งานรากเทียมได้ทันที (Immediate Function)
การใส่ครอบฟันบนรากเทียมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ทันทีนี้ มีอัตราความสำเร็จสูงเท่ากับหรือมากกว่า การผ่าตัดใส่รากเทียมแบบเก่าที่ต้องรอให้กรากเทียมยึดแน่นกับกระดูกเสียก่อนค่อยทำครอบฟัน
จากการศึกษามากมายพบว่าการใส่ครอบฟันบนรากเทียมทันทีนั้นสามารถทำได้ในฟันทุกตำแหน่ง
ปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือก
- สภาพของเหงือกและเนื้อเยื่อรองรับฟันซี่ข้างเคียงมีความสมบูรณ์แข็งแรง
- มีการสบฟันที่มั่นคง
- ไม่มีการอักเสบ หรือติดเชื้อในตำแหน่งที่ใกล้เคียง
- มีปริมาณกระดุกและความหนาแน่นของกระดูกเพียงพอ
- ฟันไม่สึกมาก ไม่มีนิสัยกัดเค้นฟัน
เป็นหน้าที่ของทันตแพทย์ที่จะต้องเลือกเคสให้ดีว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้คอนเซปต์ใส่ครอบฟันทันที หรือจะรอให้รากเทียมยึดดีก่อนค่อนใส่ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุด และเกิดความเสี่ยงน้อยสุดแก่ผู้ป่วย และสิ่งที่ควรคำนึงในการรักษามีดังนี้
รากเทียมควรมีความมั่นคงสูงแม้แรกฝัง
คุณภาพของกระดูกที่แตกต่าง เทคนิคการเจาะนำรากเทียมที่แตกต่างล้วนแล้วแต่มีผลต่อความแน่นของรากเทียมเมื่อแรกฝัง รากเทียมควรยึดได้ย่างมั่นคงในกระดูกและสามารต้านแรงหมุนได้โดยที่ตัวของรากเทียมไม่หมุนตาม
สามารถควบคุมน้ำหนักที่กระทำต่อรากเทียมได้
สามารถลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดแรงที่กระทำต่อรากเทียมที่ไม่สมดุลเช่น แรงในลักษณะของคานงัด(Cantilevers), แรงเฉือนจากการกัดเยื้อง (lateral occlusal force), แรงที่เกิดจาการสบฟันที่ไม่มั่นคง
(Unstable occlusion) และแรงจากนิสัยกัดเค้นฟันที่ผิดปกติ (bruxism) หากมีความเสี่ยงจากแรงดังกล่าวถ้ามีรากเทียมหลายตัวควรทำครอบฟันบนรากเทียมยึดเป็นชิ้นเดียวกัน (splinted) เพื่อช่วยกระจายแรง
ผิวรากเทียมสามารถเหนี่ยวนำเซลกระดูก
พื้นผิวไทยูไนท์ (TiUnite) เป็นผิวพิเศษที่เป็นเอกสิทธ์ของรากเทียมจากบริษัทโนเบลไบโอแคร์ยุคใหม่ทั้งหมด ผิวชนิดนี้ได้รับการพิเศษแล้วว่าสามารถเร่งการยึดตัวของกระดูกกับผิวรากเทียมได้เป็นอย่างดี
ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการยึดตัวของรากเทียมกับกระดูกในวันแรกฝัง รากเทียมชนิดนี้จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในรายที่ต้องการฝังรากเทียมพร้อมกับใส่ครอบฟันบนรากเทียมทันที (Immediate function)
การดูแลช่องปากหลังการฝังรากเทียม
การดูแลจะเหมือนกับการหลังศัลยกรรมช่องปากทั่วไป ผู้ป่วยอาจต้องทานยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันอย่างน้อย 1-3 วันหลังการฝังรากเทียมตามความเหมาะสม
การบูรณะขั้นสุดท้าย
ระยะเวลารอก่อนที่จะทำครอบฟันถาวร สะพานฟันถาวร หรืออื่นๆ บนรากเทียมจะแตกต่างกันไป โดยหลักแล้วจะขึ้นอยู่กับระยะการหายของเนื้อเยื่อโดยรอบรากเทียม
รูปขยายของโปรตีนในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่ผิวของรากเทียมชนิดไทยูไนท์ |
ภาพแสดงการยื่นยาวของกระดูก เข้าไปในรูพรุนของผิวรากเทียม ชนิดไทยูไนท์ (เมื่อลองดึงรากเทียมออกจากกระดูก) |
ภาพแสดงการเจริญของเซลกระดูก เข้าไปในผิวรากเทียมชนิดไทยูไนท์ |
เมื่อต้องฝังรากเทียมทันทีหลังถอนฟัน
ความสามารถในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอ หรืออัตราการหายตัวของเนื้อเยื่อในบริเวณที่ถอนฟันนั้นสูงมาก เมื่อเทียบกับบริเวณที่ถอนฟันไปนานแล้ว
ดังนั้นการฝังรากเทียมในบริเวณนี้จึงได้รับประโยชน์สูงมาก แต่จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อปริมาณกระดูกในบริเวณรอบแผลถอนฟันนั้น ต้องมีมากพอ ที่จะให้รากเทียมยึดอยู่ได้มั่นคงในช่วงแรกฝัง
การฝังรากเทียมทันทีหลังการถอนฟัน อาจต้องทำการเปิดเหงือกร่วมด้วย หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการถอนฟัน และปริมาณของกระดูกที่เหลือ
หลังถอนควรกำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออกไปให้ได้มากที่สุด (หากมี) และปฏิบัติตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้ |
|
- ถอนด้วยความนิ่มนวล เพื่อให้เกิดความบอบช้ำ หรือความเสียหายต่อสันกระดูกด้านหน้า (Labial bone) ให้น้อยที่สุด
- ตรวจเช็คว่าสันกระดูกด้านหน้า ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์โดยใช้โพรบ (Probe)
- ค่อยๆกำจัดเศษของเนื้อเยื่ออ่อนที่หลงเหลือในร่องกระดูกเบ้าฟัน
- เลือกรากเทียมที่มีความยาวเกินร่องลึกสุดกระดูกหลังถอนฟัน
- ใช้หัวเจาะนำรากเทียมก่อน เพื่อป้องกันแรงกระทำทีมากเกินไป ต่อแพลทฟอร์มของรากเทียมหากขันรากเทียมลงโดยตรง
โดยทั้งนี้ทิศทางที่เจาะนำจะต้องไม่เอียงไปด้านหนึ่งด้านใดเกิน ไปเพื่อที่จะให้เกิดช่องว่างระหว่างรากเทียมกับกระดูกให้น้อยที่สุด
|
|
หากฟันที่ถอนนั้นมีสาเหตุมาจากโรครำมะนาด อาจต้องถอนและรอให้กระดูกและเหงือกหายดีเสียก่อนแล้วจึงฝังรากเทียม