รากเทียมพร้อมครอบฟัน 1 ซี่ (Immediate Function - Single tooth restorations)
ฐานรองครอบฟันชั่วคราวแบบใส่ทันที (Immediate Temporary Abutment)
ใส่ฐานรองครอบฟันแบบใส่ทันทีหลังการฝังรากเทียม เหมาะสำหรับการใส่ฟันที่หายไปด้วยรากเทียม 1 ซี่เท่านั้น
การปรับแต่งฐานรองครอบฟัน
(Adjust the abutment)
ฐานรองครอบฟันชั่วคราวโลหะ (Immediate Temporary Abutment) และกรวยพลาสติก (Plastic Coping) ที่สวมบนฐานรองครอบฟันสามารถูกกรอปรับแต่งขนาดได้ เพื่อให้สามารถรองรับครอบฟันชั่วคราวได้ทุกขนาด
การทำครอบฟันชั่วคราว (Fabrication of Temporary)
การทำครอบฟันชั่วคราวบนรากเทียม จะเหมือนกับการทำครอบฟันชั่วคราวบนฟันธรรมชาติทั่วไป คือทำจากอคริลิกหรือคอมโพสิท
การยึดครอบฟันชั่วคราว (Cement Temporary)
ยึดด้วยกาวสำหรับครอบฟันชั่วคราว สิ่งสำคัญคือต้องพยายามกำจัดกาวส่วนเกินออกให้หมด วิธีกำจัดก็ไม่แตกต่างจากการกำจัดกาวจากครอบฟันในฟันธรรมชาติ |
|
รากเทียมพร้อมครอบฟันทันทีในกรณีที่ใส่ฟันหลายซี่พร้อมกัน (Immediate Function - Multiple Restorations)
ฐานรองครอบฟันชั่วคราวบนรากเทียมชนิดไม่ยึดติดด้วยตัวเอง
(Temporary Abutment Non-Engaging)
สวมฐานรองครอบฟันบนรากเทียมและกรอปรับขนาด จากนั้นก็ไขฐานรองครอบฟันเข้ากับรากเทียมให้แน่น ด้วยหมุดยึดโดยใช้ไขควงพิเศษหรือยูนิกริป
ฟันปลอมชั่วคราวจากอคริลิก
(Acrylic template)
ทำฟันปลอมชั่วคราวจากอคริลิก เจาะบนตัวฟันเพื่อเป็นทางให้หมุดยึดผ่าน หลังจากสกรูยึดแล้ว ให้ใช้อคริลิก หรือคอมโพสิทเติมฐานฟันปลอมชั่วคราวให้แน่น
ปรับแต่งฟันปลอมชั่วคราว
(Adjust Temporary Restoration )
หลังจากยึดฐานฟันปลอมแน่นดีแล้ว ใช้สกรูหมุดยึดและถอดฟันปลอมออกมาขัด สิ่งที่สำคัญคือ ฟันปลอมต้องไม่มีขอบคมหรือผิวขรุขระ ซึ่งอาจทำอันตรายต่อเนื้อเยื่ออ่อนโดยรอบได้
การยึดฟันปลอมชั่วคราว
(Connect Temporary Restoration)
ยึดโดยใช้สกรูที่มาพร้อมกับฐานรองครอบฟันชั่วคราว ด้วยไขควงพิเศษหรือยูนิกริป
วัดความแน่นของสกรูโดยใช้เครื่องมือวัดพิเศษ (Manual Torque Wrench)
ตรวจการสบฟัน
|
|
การฝังรากเทียมและใส่ครอบฟันบนรากเทียมภายหลัง
การผ่าตัดฝังรากเทียมแบ่งเป็น 2 ระยะ เพื่อป้องกันไม่ให้แรงบดเคี้ยวมากระทำต่อรากเทียมมากเกินไป ในช่วงแรกโดยการฝังให้รากเทียมอยู่ต่ำกว่าเหงือก
การผ่าตัดครั้งแรก ด้วยวิธีฝังจม ทำเมื่อ
- ต้องใช้ระยะเวลานานในการรอให้แผลหาย
- ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวบางอย่างที่มีความเสี่ยงที่จะมีแผลหายช้ากว่าปกติ
- เมื่อต้องมีการปลูกกระดูกร่วมกับการฝังรากเทียม
|
การผ่าตัดครั้งที่ 2 ผ่าเพื่อเปิดตัวรากเทียม
- ใช้เครื่องมือเจาะเหงือกแบบสำเร็จรูป หรือใช้วิธีเปิดเหงือกปกติในตำแหน่งเหนือสกรูปิดตัวรากเทียม (Cover screw)
- ใช้ไขควงพิเศษหรือยูนิกริปหมุนนำสกรูปิดตัวรากเทียม (Cover screw) ออกมา
การยึดฝาสกรูปิดรากเทียม Connection of Healing Abutment
- ยึดฝาสกรูปิดรากเทียมโดยใช้ไขควงพิเศษหรือยูนิกริป
- หรือถ้าเป็นไปได้ก็ใช้ฐานรองครอบฟันบนรากเทียมตัวจริงไปเลย
|
|