รากเทียม Zygoma (ไซโกมา)
ในอดีตมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถใส่ฟันแบบรากเทียมได้ โดยเฉพาะในรายที่มีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกรบน ในตำแหน่งฟันหลังไปมากจนความหนาของกระดูกไม่เพียงพอสำหรับรองรับรากเทียมปกติ
ในเวลานั้นมีทันตแพทย์หลายทีมทั่วโลกพยายามที่จะศึกษา คิดค้นและพัฒนาเทคนิคในการปลูกกระดูก เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการฝังรากเทียมแต่กระนั้นผลการศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ และความสำเร็จในการปลูกกระดูกขากรรไกรก็มีหลายระดับยากที่จะคาดคะเน
ทีมของศาสตราจารย์ ดร.เบรเนมาร์ก (Br?nemark) จึงได้เบนความสนใจไปจากการพยายามปลูกกระดูกขากรรไกรบน (Maxillary alveolar bone) เป็นการศึกษาหากระดูกตำแหน่งใหม่ในบริเวณขากรรไกรและใบหน้าทั้งหมด (Craniofacila bone)
จึงได้ค้นพบว่ากระดูกแก้มไซโกมา (Zygomatic bone) เป็นตำแหน่งที่มีความหนาและแข็งแรงมากชิ้นหนึ่ง น่าที่จะรองรับแรงและเป็นหลักยึดได้ดี และที่สำคัญอยู่ไม่ไกลจากตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรบนที่ใช้รองรับรากเทียมขนาดปกติ
ศาสตราจารย์เบรเนมาร์กและทีมจึงได้คิดค้นรากเทียมชนิดใหม่ซึ่งมีความยาวมากขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อไปยึดกับกระดูกชิ้นนี้แทนและเรียกรากเทียมชนิดนี้ว่ารากเทียมไซโกมา(Zygomatic implant)
ศาสตราจารย์ ดร.เบรเนมาร์ก (Br?nemark) และทีมได้เริ่มใช้รากเทียมชนิดนี้ ในผู้ป่วยรายแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1989 ในการศึกษาระยะแรกๆ ถึงผลสำเร็จและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของรากเทียมชนิดนี้พบว่า
ในรากเทียมไซโกมาทั้งหมด 97 ตัวที่ทีมของศาสตราจารย์เบรเนมาร์กใช้ มีอัตราความสำเร็จสูงถึง 96.8% นับจากนั้นเป็นต้นมา รากเทียมไวโกมา ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการทันตกรรม
และมีผลการศึกษาอีกหลายพันฉบับ จากทันตแพทย์อีกหลายทีมทั่วโลกที่ช่วยยืนยันผลความสำเร็จของรากเทียมไซโกมา
ข้อบ่งชี้ :
- เมื่อสูญเสียฟันบางส่วนของขากรรไกรบนในตำแหน่งฟันหลังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้างไดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ร่วมกับมีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งนี้ไปมาก
- เมื่อสูญเสียฟันทั้งหมดในขากรรไกรบน โดยมีปริมาณของกระดูกในตำแหน่งของฟันหน้า เพียงพอสำหรับรองรับรากเทียมความยาวมาตรฐาน
แต่มีปริมาณกระดูกในตำแหน่งฟันหลังละลายตัวไปมาก จนไม่พอสำหรับรองรับรากเทียมรากเทียมความยาวมาตรฐาน หรือต้องแก้ด้วยการปลูกกระดูกเพิ่มก่อนฝังรากเทียมในตำแหน่งฟันหลัง
- เมื่อสูญเสียฟันทั้งหมดในขากรรไกรบน และมีปริมาณของกระดูกไม่พอทั้งในตำแหน่งฟันหน้าและฟันหลัง สามารใช้รากเทียมชนิดนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการปลูกกระดูกได้ทั้งในสองตำแหน่ง
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนการรักษาด้วยรากเทียมชนิด Zygoma
- ไม่มีอาการ หรืออาการแสดงที่เกี่ยวกับโพรงอากาศของขากรรไกรบน (Maxillary Air sinus)
- มีภาพรังสีในตำแหน่งขากกรรไกรบน และโพรงอากาศขากรรไกรบน ที่สามารถห้รายละเอียดเพียงพอต่อการวินิจฉัย และวางแผน
- สามารถที่จะออกแบบฟันปลอมบนรากเทียมไซโกมา ให้มีระนาบการสบฟันที่สมดุล สามารถถ่ายเทแรงบดเคี้ยวได้เท่ากันทั้งซ้ายขวา ทั้งนี้เพื่อลดแรงงัดที่จะเกิดกับรากเทียมไซโกมา
รากเทียม Zygoma
ขั้นตอน การรักษาด้วยรากเทียมชนิด Zygoma
การถ่ายภาพรังสีเพื่อการวินิจฉัยเบื้องต้น
จุดประสงค์ในการถ่ายภาพรังสีในตำแหน่งกระดูกแก้มไซโกมา (Zygomatic bone)
- เพื่อหาความผิดปกติในโพรงอากาศขากรรไกรบน (Maxillary sinus)
- เพื่อประเมินปริมาตรของกระดูกแก้มไซโกมา เนื่องจากปริมาตรของกระดูกชิ้นนี้มีความแตกต่างกันอย่างมากในผู้ป่วยแต่ละคน หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยคนเดียวกันในด้านซ้ายขวา
- เพื่อบอกตำแหน่งทางกายภาพผนังด้านหน้าของร่องกระดูกเทมโพรอล (Temporal fossa) ซึ่งเป็นตำแหน่งสิ้นสุดของความยาวรากเทียมไซโกมา
- เพื่อประมาณความหนาของกระดูกขากรรไกรบนในตำแหน่งของฟันกรามน้อย เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่รองรับรากเทียมไซโกมา
การฝังรากเทียม Zygoma
- ต้องฝังรากเทียม Zygoma ผ่านเข้าไปในโพรงอากาศขากรรไกรบนสู่กระดูกแก้มไซโกมา ในทิศทางที่ถูกต้องด้วยความระมัดระวัง
การใส่สะพานฟันบนรากเที่ยม Zygoma
- สามารใส่สะพานฟันบนรากเทียมได้ใน 1 สัปดาห์หลังจากการผ่าตัด
ผลลัพธ์ของการฝังรากเทียม Zygoma
- ผู้ป่วยได้สะพานฟันบนรากเทียมที่มีความแข็งแรง สวยงามไม่แพ้ฟันธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวสูง
NobelGuide™ Zygoma
(กดดูรายละเอียด)